วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความหลากหลาย


ความหลากหลายทางชีวภาพ หมายถึง การมีชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดมาอยู่ร่วมกัน ณ สถานที่หนึ่งหรือระบบนิเวศใดระบบนิเวศหนึ่ง
ความหลากหลายทางชีวภาพมี 3 ระดับ
1 ความหลากหลายทางนิเวศวิทยา ( Ecolosystem Diversity )
2 ความหลากหลายทางพันธุกรรม ( Genetic Diversity )
3 ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ ( Species Diversity )

การพึ่งพาอาศัยกัน


การพึ่งพาอาศัยกัน (Interdependence)

            การพึ่งพาอาศัยกัน (Interdependence) ได้แก่ ความเข้าใจตระหนักรู้ถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างกันของผู้คน ถิ่นฐาน เศรษฐกิจ ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เข้าใจสภาวการณ์ในระดับโลก สามารถเรียนรู้ที่จะจัดการกับความซับซ้อนได้

การพึ่งพากัน 

            การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันของประเทศต่างๆในด้านการรวมตัวเป็นองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจก็ เนื่องมาจากความมั่นคงและสวัสดิการของประเทศ ซึ่งการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันได้เพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็วในภาวะเศรษฐกิจที่มีการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเน้นภาคธุรกิจหรือ ผลผลิตทางภาคอุตสาหกรรม ยิ่งกว่านั้น เมื่อกระบวนการผลิตใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น ย่อมทำให้ สินค้าและบริการออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งระบบการค้า มักจะถือกันว่าเป็นรูปแบบ ของกระบวนการ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ อัตราส่วนของการค้าต่อผลิตภัณฑ์ มวลรวมประชาชาติ ขยายตัวมากขึ้นย่อมหมายถึงประเทศนั้น มีการพึ่งพิงระบบการค้า ระหว่างประเทศมากขึ้นด้วย ทำให้การเจริญเติบโตของประเทศต้องอาศัยการพึ่งพากันทางการค้า และการลงทุน ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ 

 (Interdependence)

            การพึ่งพาอาศัยกัน (Interdependence) ได้แก่ ความเข้าใจตระหนักรู้ถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างกันของผู้คน ถิ่นฐาน เศรษฐกิจ ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เข้าใจสภาวการณ์ในระดับโลก สามารถเรียนรู้ที่จะจัดการกับความซับซ้อนได้

การพึ่งพากัน 

            การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันของประเทศต่างๆในด้านการรวมตัวเป็นองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจก็ เนื่องมาจากความมั่นคงและสวัสดิการของประเทศ ซึ่งการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันได้เพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็วในภาวะเศรษฐกิจที่มีการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเน้นภาคธุรกิจหรือ ผลผลิตทางภาคอุตสาหกรรม ยิ่งกว่านั้น เมื่อกระบวนการผลิตใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น ย่อมทำให้ สินค้าและบริการออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งระบบการค้า มักจะถือกันว่าเป็นรูปแบบ ของกระบวนการ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ อัตราส่วนของการค้าต่อผลิตภัณฑ์ มวลรวมประชาชาติ ขยายตัวมากขึ้นย่อมหมายถึงประเทศนั้น มีการพึ่งพิงระบบการค้า ระหว่างประเทศมากขึ้นด้วย ทำให้การเจริญเติบโตของประเทศต้องอาศัยการพึ่งพากันทางการค้า และการลงทุน ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ 

ค่านิยม

ค่านิยม หมายถึง สิ่งที่สังคมถือว่ามีค่าพึงปราถนาต้องการให้เป็นเป้าหมายของสังคมและปลูกฝังให้สมาชิกของสังคมยึดถือเป็นเป้าหมายในการดำเนินชีวิตควรหลีกเลี่ยง เช่น ความยากจน สิ่งมีคุณค่า น่าปราถนา หรือนำความสุขมาให้มีทั้งเป็นวัตถุและไม่เป็นวัตถุ
          ค่านิยมเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาได้เช่นเดียวกันกับความเชื่อและมีความแตกต่างกันไปตามสังคมและวัฒนธรรมค่านิยมส่วนใหญเนื่องมาจากความเชื่อ
          ค่านิยมไทยใหม่จะมีลักษณะสากลมากขึ้น เช่น นิยมยกย่องวัตถุ ความมั่นคง ความหรูหราฟุ่มเฟือย ความเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ไม่ยึดมั่นในประเพณี ชื่นชมวัฒนธรรมตะวันตก และเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยเฉพาะการใช้โทรศัพท์มือถือ อำนาจและเกียรติยศชื่อเสียง การดูแลรักษาสุขภาพด้วยโภชนาการ และการออกกำลังกาย

การพัฒนาอย่างยั่งยืน"


การพัฒนาอย่างยั่งยืน" (Sustainable Development)


นับวัน ผลเสียของวิถีการพัฒนาแบบ “สุดโต่ง” ที่เน้นเรื่องอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศเพียงมิติเดียว โดยไม่สนใจมิติอื่นๆ โดยเฉพาะคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ก็ยิ่งปรากฏให้เราเห็นชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ในแทบทุกประเทศในโลก เป็นสาเหตุสำคัญที่ฝ่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจ รัฐบาล และองค์กรโลกบาลหลายแห่ง หันมาให้ความสำคัญกับแนวคิดใหม่ที่เรียกว่า “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” (sustainable development) มากขึ้นเรื่อยๆ
ในรายงานพัฒนามนุษย์ (Human Development Report) ประจำปี ค.ศ. 1996 องค์กรเพื่อการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme หรือ ยูเอ็นดีพี) ระบุว่า “คุณภาพ” ของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สำคัญกว่า “อัตรา” การเจริญเติบโตดังกล่าว ยูเอ็นดีพีขยายความว่า แบบแผนการเจริญเติบโตที่ทำความเสียหายในระยะยาวมีทั้งหมด 5 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่ การเติบโตที่ไม่สร้างงานให้กับประชากร (rootless growth), การเติบโตที่ทิ้งห่างกระแสประชาธิปไตย (voiceless growth), การเติบโตที่กดทับอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมจนสิ้นสลาย (rootless growth), การเติบโตที่ทำลายสิ่งแวดล้อม (futureless growth), และการเติบโตที่ประโยชน์ส่วนใหญ่ตกอยู่ในมือคนรวยเท่านั้น (ruthless growth)
ยูเอ็นดีพีสรุปว่า การเติบโตทั้ง 5 รูปแบบดังกล่าวนั้นล้วนเป็นการเติบโตที่ “ทั้งไม่ยั่งยืน และไม่สมควรจะยั่งยืน”
แนวคิด “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ไม่ใช่เรื่องใหม่ วัฒนธรรมมากมายในประวัติศาสตร์มนุษย์ รวมทั้งวัฒนธรรมชุมชนในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ได้มองเห็นความจำเป็นของการสร้างความสมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ แต่สิ่งที่เป็นเรื่อง “ใหม่” ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ คือความพยายามที่จะนิยาม สร้างองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ และแจกแจงองค์ประกอบต่างๆ ของแนวคิดนี้ ในบริบทของสังคมอุตสาหกรรมและข้อมูลข่าวสารระดับโลก เราอาจสาวรากของแนวคิด “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ไปถึงหนังสือเรื่อง “Silent Spring” (ฤดูใบไม้ผลิที่เงียบงัน) โดย Rachel Carson ตีพิมพ์ครั้งแรกปี 1962 ตีแผ่ผลกระทบของยาฆ่าแมลงที่เรียกว่า DDT ต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพด้วยข้อมูลที่หนักแน่นน่าเชื่อถือ ทำให้เรื่องนี้อยู่ในความสนใจของประชาชนอเมริกันอย่างกว้างขวาง และนำไปสู่การประกาศแบน DDT ในปี 1972 นักสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่ยกย่อง Silent Spring ว่าเป็น “จุดเปลี่ยน” ที่ทำให้คนจำนวนมากหันมาตระหนักถึงความเกี่ยวโยงอย่างแนบแน่นระหว่างสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม
“การพัฒนาอย่างยั่งยืน” หมายความว่าอะไร และมีลักษณะอย่างไร? วันนี้ผู้เขียนจะเก็บความจากเนื้อหาในเว็บไซต์ Sustainability Development Gateway (SD Gateway - http://sdgateway.net/) มาเล่าสู่กันฟังดังต่อไปนี้:
“การพัฒนาอย่างยั่งยืน” สำหรับแต่ละคนย่อมมีความหมายไม่เหมือนกัน เนื่องเพราะ “ระยะยาว” ของแต่ละคนอาจยาวสั้นแตกต่างกัน แต่นิยามที่คนนิยมอ้างอิงมากที่สุดมาจากรายงานชื่อ “อนาคตร่วมของเรา” (Our Common Future หรือที่รู้จักในชื่อ “รายงานบรุนด์ท์แลนด์” - the Brundtland Report) โดยรายงานดังกล่าวระบุว่า “การพัฒนาอย่างยั่งยืน หมายถึงวิถีการพัฒนาที่สามารถตอบสนองความต้องการของปัจจุบันโดยไม่ลิดรอนความสามารถของคนรุ่นหลังในการตอบสนองความต้องการของพวกเขา”
เป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืนไม่ได้อยู่ที่อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ หากอยู่ที่การปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชากรโลกในทางที่ไม่เพิ่มระดับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติจนเกินศักยภาพของธรรมชาติที่จะผลิตมันให้มนุษย์ใช้อย่างไร้ขีดจำกัด การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องอาศัยความเข้าใจว่า การนิ่งเฉยไม่ทำอะไรเลยมีผลกระทบ และเราต้องหาหนทางใหม่ๆ ในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเชิงสถาบันและพฤติกรรมของปัจเจกชน
แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนรุดหน้าไปอย่างรวดเร็วตั้งแต่ทศวรรษ 1980 ในปี 1992 ผู้นำนานาชาติที่มาพบกันในการประชุมสุดยอดแห่งโลก (Earth Summit) ในกรุงริโอ เดอ จาเนโรในบราซิล นำเค้าโครงของรายงานบรุนด์ท์แลนด์ไปสร้างสนธิสัญญาและแถลงการณ์เกี่ยวกับประเด็นหลักๆ ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การตัดไม้ทำลายป่า และความหลากหลายทางชีวภาพ นอกจากนี้ ผู้เข้าประชุมยังได้ร่วมกันร่างแผนกลยุทธ์กว้างๆ เรียกว่า “Agenda 21” เพื่อใช้เป็นแผนที่สำหรับงานด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาในอนาคต หลังจากการประชุมสุดยอดครั้งประวัติศาสตร์ดังกล่าว ก็มีกลุ่มต่างๆ ตั้งแต่ธุรกิจ รัฐบาลท้องถิ่น ไปจนถึงองค์กรโลกบาลอย่างธนาคารโลก ที่นำแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนไปตีความ ต่อยอด และปรับใช้ในบริบทของตัวเอง จวบจนปัจจุบันและยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
ถึงแม้ว่าการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะเป็นแนวคิดลื่นไหลที่วิวัฒนาการไปเรื่อยๆ ก็มีลักษณะสำคัญบางประการที่อยู่ภายใต้เส้นความคิดหลายกระแส ได้แก่
1) ความเท่าเทียมกัน (equity) และความยุติธรรม (fairness) เป็นประเด็นสำคัญ การพัฒนาอย่างยั่งยืนอยากตอบสนองความต้องการของคนจนและประชากรผู้ด้อยโอกาส ไอเดียเรื่องความเท่าเทียมกันและความยุติธรรมเป็นส่วนประกอบสำคัญในนิยามของ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” เพราะตั้งอยู่บนข้อเท็จจริงที่ว่า ถ้าเราละเลยผลกระทบจากการกระทำของเราต่อคนอื่นในโลกที่เกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน เราก็ต้องยอมรับความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายขึ้นกับตัวเองในอนาคตด้วย
เนื่องจากระบบเศรษฐกิจและนโยบายสาธารณะของเราส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงทรัพยากร เราจึงต้องเปลี่ยนแปลงระบบเหล่านี้ ความยุติธรรมหมายความว่า ประเทศแต่ละประเทศควรมีโอกาสในการพัฒนาตัวเองบนพื้นฐานของคุณค่าทางวัฒนธรรมและสังคมของตัวเอง โดยไม่ปฏิเสธว่าประเทศอื่นๆ ก็ล้วนมีสิทธิดังกล่าวเช่นเดียวกัน หนึ่งในความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบันคือ เราจะปกป้องสิทธิของคนที่ไม่มีสิทธิออกเสียงได้อย่างไร คนรุ่นหลังที่ยังไม่เกิดไม่สามารถออกความเห็นหรือปกป้องผลประโยชน์ของพวกเขาในกระบวนการตัดสินใจต่างๆ ของคนรุ่นปัจจุบัน ถ้าการพัฒนาจะยั่งยืนได้จริง เราจะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของพวกเขาด้วย
2) มีมุมมองระยะยาว (long-term view) ภายใต้หลักความรอบคอบ (precautionary principle) “ระยะยาว” ยาวแค่ไหน? ในสังคมตะวันตกในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง การวางแผนของภาครัฐมองระยะเวลาเพียงสามถึงห้าปีเท่านั้น ปัจจุบัน “ระยะยาว” ในความหมายของนักค้าหุ้นและนักค้าเงินคือระยะเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ ในขณะที่ชาวอินเดียนแดงในอเมริกาวางแผนสำหรับ “คนรุ่นที่เจ็ดนับจากนี้” พวกเขาวางแผนเป้าหมายและกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อคนรุ่นหลังอีกเจ็ดชั่วคน เท่ากับว่าวางแผนล่วงหน้าถึง 150 ปีทีเดียว สำหรับแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผู้เชี่ยวชาญบางคนเสนอว่า ตราบใดที่คนรุ่นหนึ่งคิดถึงคนรุ่นต่อไป (ประมาณ 50 ปี) ก็แปลว่าคนทุกรุ่นจะได้รับการดูแล แน่นอน ถ้าเรามองเห็นว่าเรื่องใดก็ตามจะส่งผลกระทบที่เกิดขึ้นในอนาคตที่ไกลกว่านั้น เราก็ควรจะวางแผนให้ยาวขึ้น ไม่มีคนรุ่นไหนสามารถการันตีผลลัพธ์ในอนาคตที่พยากรณ์ไม่ได้ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ไม่มีคนรุ่นไหนที่ควรทำเป็นมองไม่เห็นผลลัพธ์ที่พยากรณ์ได้
ในโลกที่เรารู้แล้วว่าทุกมิติมีความเกี่ยวโยงและส่งผลกระทบซึ่งกันและกันเพียงใด ปฏิสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อนกำลังเร่งอัตราการเปลี่ยนแปลงและการก่อเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ในสถานการณ์เช่นนี้ หลักความรอบคอบช่วยแนะแนวให้เราได้ หลักการชุดนี้บอกว่า เมื่อกิจกรรมใดๆ ก็ตามเพิ่มขีดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมหรือสุขภาพมนุษย์ เราควรต้องใช้มาตรการป้องกันและบรรเทาผลกระทบ ถึงแม้ว่านักวิทยาศาสตร์อาจจะยังไม่สามารถพิสูจน์ความสัมพันธ์ที่เป็นเหตุและผลได้ทั้งหมด
3) การคิดแบบเป็นระบบ (systems thinking) ซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจในความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม เป็นเวลานานกว่าสองศตวรรษแล้วที่เรารู้ว่า โลกนี้เป็นระบบปิดที่มีทรัพยากรจำกัด เมื่อนักสำรวจทำงานสำรวจผิวดินและพื้นน้ำสำเร็จลง คนก็ค่อยๆ เข้าใจว่าโลกนี้ไม่มีทรัพยากร “ใหม่” เรามีโลกเพียงใบเดียว กิจกรรมทั้งหมดของเราเป็นเพียงส่วนเสี้ยวเดียวของระบบธรรมชาติที่ใหญ่ยิ่งกว่า เราต้องมองเห็นว่าระบบที่เดินด้วยน้ำมือมนุษย์ทั้งหมดนั้นอยู่ภายในระบบนิเวศที่ใหญ่กว่า ก่อนที่จะสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับสิ่งแวดล้อม และทำให้เรามั่นใจได้ว่าเผ่าพันธุ์มนุษย์จะอยู่รอดต่อไปในอนาคต
ทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดที่มนุษย์ใช้ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร น้ำ ไม้ เหล็ก ฟอสฟอรัส น้ำมัน และทรัพยากรอื่นๆ อีกหลายร้อยชนิด ล้วนมีขีดจำกัดทั้งในแง่ของแหล่งที่มาและแหล่งที่ไป (sink) แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนบอกเราว่า เราไม่ควรนำทรัพยากรธรรมชาติออกมาใช้ในอัตราที่เร็วกว่าความสามารถของเราในการผลิตทรัพยากรทดแทน และเราก็ไม่ควรทิ้งทรัพยากรธรรมชาติในอัตราที่เร็วกว่าอัตราที่ธรรมชาติจะสามารถดูดซับมันกลับเข้าไปในระบบ ถึงแม้ว่าปัญหาทรัพยากรร่อยหรอจะเป็นประเด็นกังวลหลักของนักสิ่งแวดล้อมในอดีต วันนี้ นักสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่เป็นกังวลเรื่องที่เราจะไม่เหลือแหล่งทิ้งทรัพยากรแล้วมากกว่า ปัญหาโลกร้อน รูในชั้นโอโซน และความขัดแย้งเรื่องการส่งออกขยะอันตราย ล้วนเป็นปัญหาที่เกิดจากการที่เราพยายามทิ้งทรัพยากรเร็วกว่าอัตราที่ธรรมชาติจะสามารถรองรับได้
การคิดแบบเป็นระบบผลักดันให้เราเข้าใจว่า ถึงแม้โลกจะมีเพียงใบเดียว มันก็เป็นโลกที่ประกอบด้วยระบบย่อย (subsystems) มากมายที่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ปัจจุบันการพัฒนาโมเดลต่างๆ เพื่ออธิบายระบบย่อยเหล่านี้ได้รุดหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง โมเดลเหล่านี้เป็นกรอบคิดที่เป็นประโยชน์สำหรับการเลือกดัชนีชี้วัดความคืบหน้าของการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ระบบย่อยต่างๆ ในโลกล้วนเชื่อมโยงกันผ่านกระบวนการที่ภาษาวิทยาศาสตร์เรียกว่า “ห่วงโซ่ตอบกลับ” (feedback loop) อันสลับซับซ้อน วิทยาศาสตร์แขนงใหม่ที่ศึกษาความซับซ้อนของระบบต่างๆ บอกเราว่า ในระบบบางระบบ เหตุการณ์เล็กมากๆ อาจก่อให้เกิดผลลัพธ์ขนาดใหญ่ที่รุนแรงและพยากรณ์ไม่ได้ล่วงหน้า ด้วยการจุดชนวนซีรีส์เหตุการณ์ที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น ตอนนี้เรารู้แล้วว่าการปล่อยมลพิษในซีกโลกเหนือส่งผลให้ชั้นโอโซนเหนือทวีปแอนตาร์กติกาบางลง และเร่งอัตราการเกิดมะเร็งผิวหนังในซีกโลกใต้ วิกฤตการเงินในเอเชียส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก และสงครามระหว่างชาติพันธุ์ในทวีปแอฟริกากลางก่อให้เกิดการอพยพขนานใหญ่ของประชากรไปยังบริเวณใกล้เคียง สร้างแรงตึงเครียดต่อระบบในประเทศเหล่านั้นจนถึงจุดแตกหัก เป็นชนวนให้เกิดวิกฤตและการอพยพต่อไปเป็นทอดๆ
ตั้งแต่ผู้นำโลกที่ร่วมประชุม Earth Summit ประจำปี 1992 ตกลงกันว่าจะร่วมมือกันผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้เกิดเป็นรูปธรรม ท่านผู้อ่านอาจสงสัยว่าในระยะเวลาสิบห้าปีที่ผ่านมา แนวคิดนี้คืบหน้าไปมากน้อยเพียงใด มีกรณีใดบ้างเป็นความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมชัดเจน และมีกรณีใด

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความขัดแย้ง

http://youtu.be/2InWePKQ2

  ในแต่ละวันเราจะพบกับความขัดแย้ง และข่าวของความขัดแย้งทั้งในองค์การ และสังคมทั่ว ๆ ไป ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนระหว่างประเทศ ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครปรารถนา แต่ก็เป็นสิ่งที่ยากจะหลีกเลี่ยงพ้น ตราบใดที่มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่และอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมดังที่เหมาเจ๋อตง กล่าวไว้ว่า ไม่มีสิ่งใดที่ไม่มีความขัดแย้ง ไม่มีความขัดแย้งก็ไม่มีโลก ดังนั้นผู้เขียนจึงเสนอบทความนี้เพื่อท่านผู้อ่านได้ทำความเข้าใจในเรื่องความหมาย และแนวคิดเกี่ยวกับความขัดแย้ง อันนำไปสู่การปรับแนวคิดให้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุขถึงแม้ว่าจะมีความขัดแย้งกัน 

ความหมายของความขัดแย้ง 
       ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ขัดแย้ง (หน้า 137) เป็นคำกิริยา หมายถึง ไม่ทำตาม ฝ่าฝืน ขืนไว้ แย้งกัน ไม่ลงรอยกัน(หน้า 675) เป็นคำกิริยา หมายถึง ไม่ตรงหรือลงรอยเดียวกัน ต้านไว้ ทานไว้ 
       สรุปความว่า ความขัดแย้ง หมายถึง การกระทำที่ไม่ลงรอย ขัดขืน หรือต่อต้านกัน 
       พจนานุกรมของเวบสเตรอร์ (Webster’s Ninth New Collegiate Dictionary) ได้ให้ความหมายของคำว่า ความขัดแย้ง (Conflict) ไว้ดังนี้ (หน้า27        1. การต่อสู้ การรบพุ่ง การสง                     2. (a) การแข่งขันหรือการกระทำที่ตรงกันข้าม (ซึ่งสืบเนื่องมาจาก ความต่างกันในเรื่องความคิดเห็น ความสนใจ หรือบุคลิกภาพ)                                     (b)  ความคับข้องใจ ซึ่งเกิดมาจากความปรารถนาแรงขับ ความต้องการที่ขัดกันทั้งภายในตัวบุคคล                   3.  ได้มีผู้รู้ให้ความหมายของคำว่า ความขัดแย้งไว้ต่าง ๆ กัน ความหมายที่สำคัญ ๆ  มีดังนี้ 
  ความขัดแย้ง เป็นการต่อสู้ดิ้นรนระหว่างผู้ที่ไม่ลงรอยกัน (ทั้งบุคคลหรือกลุ่ม) ในด้านความต้องการ ความปรารถนา ความคิด และผลประโยชน์ ความขัดแย้งเกิดขึ้นเมื่อบุคคลหรือกลุ่มที่เผชิญหน้าไม่สามารถหาข้อยุติที่เป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่ายได้ 
  ความขัดแย้ง เป็นพฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องต้องกัน ระหว่างกลุ่มที่มีความสนใจต่างกัน 
  ความขัดแย้ง เป็นกระบวนการหนึ่งที่เริ่มต้นเมื่อกลุ่มหนึ่งรับรู้ว่าตนถูกทำลายจากกลุ่มอื่นหรือส่อเค้าว่ากลุ่มอื่นตั้งท่าจะทำลายตน 
  ความขัดแย้ง หมายถึง สภาพการณ์ที่ทำให้คนตกอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถจะตัดสินใจหรือตกลงหาข้อยุติอันเป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่ายได้ 
  ความขัดแย้ง หมายถึง สถานการณ์ที่คนมีความเห็น ความเชื่อไม่ตรงกัน และตกอยู่ในภาวะที่ไม่อาจจะตกลงหาข้อยุติที่น่าพอใจได้ทั้งสองฝ่าย หากปล่อยปละละเลย ไม่หาทางทำความเข้าใจอาจก่อให้เกิดความแตกแยก อิจฉาริษยา ซึ่งมีผลกระทบไปถึงความเสื่อมโทรมของหน่วยงานได้ 
  ความขัดแย้ง หมายถึง สภาพการณ์ที่บุคคล 2 ฝ่าย มีความคิดเห็น หรือความเชื่อที่ไม่ตรงกันและยังไม่สามารถหาข้อยุติที่สอดคล้องต้องกันได้ 
  ความขัดแย้งขององค์การ คือ ความไม่เห็นพ้องต้องกันระหว่างสมาชิก หรือกลุ่มขององค์การสองกลุ่ม หรือมากกว่าเกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับว่า พวกเขาจะต้องมีส่วนร่วมในทรัพยากรที่จำกัด หรืองานต่าง ๆ หรือพวกเขามีความแตกต่างในด้านสถานภาพ เป้าหมาย ค่านิยม การรับรู้ ทัศนคติ ความเชื่อซึ่งแตกต่างกันและไม่เห็นพ้องต้องกัน ต่างก็พยายามแสดงทัศนะของพวกเขาให้เด่นกว่าบุคคลอื่น หรือความต้องการของเขาไม่ได้รับการตอบสนอง 
   จากความหมายดังกล่าวมาพอสรุปได้ว่า ความขัดแย้งเป็นความรู้สึกนึกคิด หรือการกระทำที่ขัดกันทั้งภายในตนเอง ระหว่างบุคคล และระหว่างกลุ่ม ซึ่งมีผลทำให้เกิดการแข่งขัน หรือการทำลายกัน 
แนวคิดเกี่ยวกับความขัดแย้ง 
    ขอตั้งคำถามวัดความรู้สึกของท่านผู้อ่านว่า ท่านมีความรู้สึกอย่างไร เมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้นในครอบครัวของท่าน หรือในหน่วยงานของท่าน ? ท่านมีความรู้สึกอย่างไร แล้วถ้าท่านจะถ่ายทอดความรู้สึกออกมาเป็นภาพวาด ท่านจะวาดเป็นภาพอะไรให้ตรงกับความรู้สึกของท่านมากที่สุด (นึกไว้หรือจะวาดจริง ๆ สัก 1 ภาพก็ได้)
      (เฉลย)
    ถ้าท่านวาดเป็นภาพคนหน้าบึ้งหรือโกรธ (คนส่วนมากวาดภาพนี้) หัวใจแตกร้าว, คนด่าทอกัน, เส้นยุ่ง ๆ คนหันหลังให้กัน คนงัดข้อกัน วิวาทชกต่อยกัน ตลอดจนภาพที่มีไม้ มีดปืนลูกระเบิดเข้ามาเกี่ยวข้อง ฯลฯ ขอเฉลยว่าท่านมีแนวความคิดเกี่ยวกับความขัดแย้งแบบโบราณ (เดิม) มองความขัดแย้งเป็นโทษเป็นปัญหาแล้วภาพแบบใดจึงจะไม่โบราณหรือทันสมัย (ใหม่) ภาพที่เป็นกลาง ๆ ได้แก่ เครื่องหมาย + กับ  ลูกศรไปคนละทางภาพที่แสดงถึงผู้มีแนวความคิดเกี่ยวกับความขัดแย้งที่ทันสมัย(จะมีจำนวนน้อยมาก) ตัวอย่างภาพที่พบ เช่น เป็นภาพเส้นไม้หรือหวายขัดกัน ผู้วาดอธิบายว่า ไม้ไผ่อ่อน ๆ แต่ละเส้นถ้านำมาขัดกัน จะทำให้เกิดเป็นกระดัง ชะลอม หรือรั้วที่แข็งแรงให้ประโยชน์ได้ดี เป็นการมองว่าความขัดแย้งทำให้เกิดประโยชน์แก่องค์การได้ ทำให้เกิดการตัดสินใจที่รอบคอบขึ้น
  ผู้วาดอธิบายว่า ความขัดแย้งถ้าเรามองผิวเผินเปรียบเสมือนกองขยะเป็นสิ่งน่ารังเกียรติ มีกลิ่นเหม็น แต่ถ้าคิดให้ลึกซึ้งกองขยะ (ความขัดแย้ง) นั้น มีประโยชน์ เป็นปุ๋ยให้ต้นไม้เจริญออกดอกสวยงามได้ ความขัดแย้งก็เช่นเดียวกันมีประโยชน์ต่อองค์การ เป็นเชื้อ เป็นปุ๋ย ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ สร้างความเจริญให้แก่องค์การได้วาดภาพอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยอธิบายว่า สังคมประชาธิปไตย ย่อมต้องมีความคิดที่หลากหลายและขัดแย้งกันได้ถือเป็นเรื่องธรรมดา 
  แนวคิดหรือทัศนะเกี่ยวกับความขัดแย้ง สรุปได้ว่าแนวคิดเกี่ยวกับความขัดแย้ง แบ่งได้ชัดเจน 2 แนวคิดคือ 
 1.  แนวคิดเดิม ถือว่าความขัดแย้งเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น และเป็นผลร้ายทั้งในส่วนบุคคลและองค์การ เป็นสัญญาณของความผิดพลาดบางอย่างขององค์การ หรือเป็นความล้มเหลวของการบริหาร คนส่วนมากจึงหลีกเลี่ยงและกลัวการมีความขัดแย้ง ความขัดแย้งจึงเป็นสิ่งที่ต้องเก็บกด หลีกเลี่ยง หรือกำจัดให้หมดไป ใครก่อปัญหาความขัดแย้งคือตัวแสบขององค์กา
  2.  แนวคิดใหม่ ถือว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติที่มีในสังคม และเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ มีทั้งคุณและโทษ ความขัดแย้งจึงมิใช่สิ่งแปลกประหลาดหรือสิ่งที่น่ารังเกียจแต่เป็นสิ่งที่ควรศึกษาให้เข้าใจจนสามารถใช้ประโยชน์จากความขัดแย้งได้ โดยเฉพาะในสังคมประชาธิปไตย ต้องอาศัยความขัดแย้งเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง เพราะจากการขัดแย้งนั้นจะเกิดมติอันถูกต้อง เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและบ้านเมืองอย่างแท้จริง ซึ่งตรงกับแนวคิดที่ว่า ความขัดแย้งบางอย่างจำเป็นต้องมีเพื่อเป็นการกระตุ้นให้องค์การไม่เฉื่อยชา และมีการเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นแต่ความขัดแย้งนั้นจะต้องอยู่ในระดับที่พอเหมาะไม่สูงหรือต่ำเกินไป 
   เพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนขึ้น อาจเปรียบเทียบความขัดแย้งเหมือนกับสัตว์ดุร้ายชนิดหนึ่ง ซึ่งคนโบราณพยายามหลีกหนี หรือฆ่าทิ้งเสียเพราะกลัวอันตราย แต่คนปัจจุบันพยายามศึกษาให้เข้าใจธรรมชาติของสัตว์ดุร้าย แล้วนำมาเลี้ยงมาฝึกให้เชื่อง จนสามารถคุมพฤติกรรมและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ตามที่ต้องการได้                         
  ความขัดแย้งมีในทุกองค์การหรือหน่วยงาน ถ้ามีในระดับที่พอเหมาะ (ความสามัคคี คือ ความขัดแย้งที่พอเหมาะ) จะช่วยกระตุ้นให้บุคคลในองค์การได้ใช้ความคิด ความอ่าน ในการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์งาน ตรงกับคำกล่าวที่ว่า “No progress Without conflict” (ไม่เจริญถ้าปราศจากความขัดแย้ง) แต่ถ้ามีความขัดแย้งที่มากถึงระดับที่เป็นปัญหาก็จะทำให้บุคคลในองค์การแตกความสามัคคีทำให้องค์การเสื่อมลงในที่สุด             
  สุดท้ายขอฝากไว้ว่า ความขัดแย้ง ขัดกันได้และมีส่วนดี แต่อย่ามีนิสัยสร้างความขัดแย้ง แล้วชีวิตจะเป็นสุข 
                                              …………………………………………………….


                                                                             แหล่งที่มา 
                                                             http://www.moe.go.th/wijai/conflict.doc


xY

ความเป็นพลเมืองโลก


ความเป็นพลโลก

การศึกษาช่วยพัฒนาประชาคมสู่การเป็นพลเมืองโลก (Global Citizen) ได้อย่างไร
การจัดการเรียนเรียนรู้วิชาพลโลก 
                        หลักสูตรแกนกลาง พุทธศักราช 2551  ได้กล่าวถึง การสร้างนักเรียนให้เป็นพลโลก  หรือพลเมืองโลก (Global Citizen)  ไว้ในวิสัยทัศน์ของหลักสูตร  ดังนี้  หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน  ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุล ทั้งด้านร่างกาย  ความรู้  คุณธรรม  มีจิตสำนึกในความเป็น พลเมืองไทย และเป็นพลโลก  ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  มีความรู้และทักษะพื้นฐาน  รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ  การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต  โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า  ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
ทำไม ทำอย่างไร จึงจะนำนักเรียน สู่ความเป็นพลโลก
                         เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 255   ณ โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพมหานคร มีโอกาสเข้าร่วมสัมมนาเรื่องการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการสร้างพลเมืองโลกในอนาคต (Curriculum Development for Future Global Citizens Conference)  ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับ British Council  จัดขึ้นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิได้ ให้หลักการ แนวคิด ไว้ที่ต้องให้ความสนใจ ซึ่งพอสรุปได้  ดังนี้
จอห์น   แมคโดนัลด์  ผู้อำนวยการองค์การควบคุมคุณภาพการศึกษา  สก๊อตแลนด์
-          หลักสูตรจะต้องสร้างให้เด็กรุ่นใหม่ให้มีความสามารถในการสื่อสารระดับสากลโดยมีภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางพร้อมที่จะเรียนรู้ เข้าใจ และยอมรับในศาสนา วัฒนธรรมและภาษาที่แตกต่าง มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นพัฒนาสังคมส่วนรวมในวงกว้างระดับนานาชาติโดยไม่เห็นแก่ผลประโยชน์ของตน แต่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของประเทศและของตนไว้ 
-          หลักสูตรจะต้องช่วยให้เด็กพัฒนาศักยภาพได้เต็มที่ รู้จักคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ใช้เทคโนโลยีหาความรู้   มีความรู้ทั้งวิชาการ วิชาชีพและทักษะชีวิต   รู้จักตนเองและให้เกียรติผู้อื่น  เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี  ทำงานเป็นทีมและมีคุณธรรม     
มิสโมอิรา     แมคเคอราเชอร์     ผอ.ฝ่ายการศึกษk ระหว่างประเทศ องค์การควบคุมคุณภาพการศึกษา  สก๊อตแลนด์   
-          การสร้างเด็กให้มีคุณภาพจะต้องพัฒนาครูให้มีความเป็นเลิศในวิชาที่สอน  รู้จักออกแบบการเรียนการสอน และประเมินวัดผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อเด็ก
ดร.ซูฮ์   สวีนี     ผู้จัดการฝ่ายหลักสูตรการศึกษาวิทยาลัยอายร์  สก๊อตแลนด์
-          การสร้างเด็กให้เป็นพลเมืองที่ดีของโลกนั้นครูมีบทบาทสำคัญที่สุดรวมทั้งมีผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบอาชีพด้านต่างๆเช่น นักวิทยาศาสตร์มาช่วยครูให้ความรู้เด็ก
รศ.สุชาดา   นิมมานนิตย์     กรรมการบริหารสถาบันภาษา                   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
-          เด็กไทยยังมีจุดอ่อนด้านคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ และไม่แบ่งปันความรู้ให้เพื่อนๆ  ซึ่งครูต้องเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาและพัฒนาเด็ก
คุณหญิงกษมา  วรวรรณ    อยุธยา   เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
-          เนื้อหาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานปี2551 นั้นสามารถพัฒนาเด็กให้เป็นพลเมืองคุณภาพของโลกได้อย่างดี   เร็วๆนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)จะลงนามความร่วมมือกับกระทรวงต่างๆเช่น กระทรวงวัฒนธรรม  กระทรวงสาธารณสุข  เพื่อให้ช่วยนำความรู้ที่ไม่มีในตำราเรียนทั้ง  8 กลุ่มสาระมาลงในเวบไซต์ สพฐ.  เพื่อให้ความรู้แก่ครูและเด็กจะเริ่มเปิดให้บริการในเดือนพ.ค.นี้
 ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประธานในพิธีเปิด  
                  - กระทรวงศึกษาธิการนับเป็นหน่วยงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ทำให้ประชาชนมีความพร้อมที่จะทำประโยชน์ของตนและของโลก โดยมุ่งเน้นบุคลากรบนพื้นฐานของความมีเหตุมีผล มีความรับผิดชอบ ด้วยเล็งเห็นถึงคุณภาพเหล่านี้ต่อพลเมืองโลกในอนาคต 
                 - การพัฒนาหลักสูตรเพื่อการพัฒนาพลเมืองโลกจะส่งเสริมให้มีการประสานงานให้เกิดความเท่าเทียมกันและเกิดการเรียนการสอนที่เหมาะสมทั้งวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษ กระทรวงศึกษาธิการจะได้จัดหาโอกาสให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการสร้างพลเมืองโลกในอนาคต

                    การประชุมสัมมนาเรื่องการพัฒนาหลักสูตรเพื่อสร้างพลเมืองโลกในอนาคตจัดขึ้นเพื่อสร้างทักษะความจำเป็นในการเป็นพลเมืองโลก โดยผ่านการพัฒนาหลักสูตรระดับมัธยมศึกษา เรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่องการพัฒนาหลักสูตรเพื่อพลเมืองโลก โดยได้เชิญวิทยากรและผู้ทรงคุณวุฒิจากนานาประเทศมาบรรยายให้ความรู้ ตลอดจนส่งเสริมการศึกษา Inter – Faith โดยเชื่อมโยงแนวความคิดเรื่องโอกาสที่เท่าเทียมกัน 

           สรุป   นักการศึกษาเสนอแนะให้พัฒนาเยาวชนให้เป็นพลเมืองคุณภาพของโลกโดยการพัฒนาหลัก สูตรปลูกฝังให้เยาชนมีความรู้วิชาการ-วิชาชีพ ทักษะชีวิต  มีคุณธรรมและยึดประโยชน์ส่วนรวมในระดับสากล  

สร้างความคิดรวบยอด (Concept) เรื่องพลเมืองโลก ผ่านหลักสูตรสถานศึกษาโดย  บูรณาการกับวัตถุประสงค์ และกิจกรรม CCAD  ดังนี้
-          พลโลกมีความเหมือนและความแตกต่างกัน หลายด้าน เช่น สถานที่อยู่อาศัย ภาษา
ศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรม ภาษา  ชีวิตความเป็นอยู่
-          สันติสุขจะดำรงอยู่ได้ ต้องอาศัยการพัฒนาการอยู่ร่วมกันหลายด้าน เช่น
การติดต่อสื่อสาร  การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การค้า และการร่วมกิจกรรมในระดับนาๆ ชาติ อื่นๆ
-          พลโลกจะอยู่ร่วมโลกกันอย่างสันติสุขได้ ต้องเข้าใจ  ยอมรับ และเรียนรู้  ความเหมือนและความแตกต่างกัน
-          โลกจะดำรงอยู่ได้ พลโลกต้องร่วมมือกันรักษ์โลก


 โลกจะดำรงอยู่ได้ พลโลกต้องร่วมมือกันรักษ์โลก
สันติสุขจะดำรงอยู่ได้ ต้องอาศัยการพัฒนาการอยู่ร่วมกันหลายด้าน เช่น การติดต่อสื่อสาร  การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การค้า และการร่วมกิจกรรมในระดับนาๆ ชาติอื่นๆ เช่น  CCADพลโลก จะอยู่ร่วมโลกกันอย่างสันติสุขได้ ต้องเข้าใจ  ยอมรับ และเรียนรู้  ความเหมือนและความแตกต่างกันพลโลกมีความเหมือนและความแตกต่างกัน หลายด้าน เช่น สถานที่อยู่อาศัย ภาษา  ศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรม ภาษา  ชีวิตความเป็นอยู่

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความยุติธรรมคืออะไร


ความยุติธรรม
แจ้งลบกระทู้


ความยุติธรรม เป็นสิ่งที่เราแสวงหาและต้องการความยุติธรรม 
ความยุติธรรม คืออะไร อันนี้ตอบยาก 
ความยุติธรรมกับความเสมอภาค ไม่เหมือนกัน 

ความยุติธรรม ต้องให้คนได้รับสิ่งที่เขาควรจะได้รับ ถ้าเขาควรได้รับรางวัลก็ให้รางวัล ถ้าเขาควรได้รับโทษ ก็ให้ได้รับโทษ นี่เรียกว่าความยุติธรรม 

ความยุติธรรมจริงๆนั้นคืออะไร ส่วนมากใครที่ได้รับผลประโยชน์ คนนั้นก็ว่ายุติธรรม คนเสียประโยชน์เขาก็ว่าไม่ยุติธรรม ถ้าอย่างนั้น ความยุติธรรมจริงๆคืออะไร บอกไปนิดหนึ่งแล้วว่า ในภาคปฏิบัติ ต้องให้เขาได้รับสิ่งที่ควรได้รับ ถ้าเขาควรได้รับรางวัลก็ให้เขารับรางวัล ถ้าเขาควรได้รับโทษ ต้องให้เขาได้รับโทษ 

บางคนบอกว่าความยุติธรรมจริงๆไม่มี หรือมี แต่ไม่รู้อะไร ความยุติธรรมเป็นสากล เป็นจริงในตัวเอง หรือว่าไม่เป็นสากล ไม่เป็นจริงในตัวเอง หรือว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ มันเป็นสิ่งที่แล้วแต่ใครเป็นคนตัดสิน 
มนุษย์เราโดยปกติ โดยทั่วไปมีอคติ เข้าข้างตัวเองบ้าง เข้าข้างพวกพ้องของตัวเองบ้าง ทั้งยังเกลียดชังผู้อื่นและพวกอื่น 

อคตินี่แหละทำให้เสียความยุติธรรม 

ฉันทาคติ  พอใจลำเอียงเพราะพอใจบ้าง 

โทสาคติ   ลำเอียงเพราะไม่ชอบบ้าง 

โมหาคติ   ลำเอียงเพราะไม่รู้เรื่องรู้ราว แต่ก็กระทำไปตามที่ไม่รู้เรื่อง 
โมหาคติ ตามตัวแปลว่าลำเอียงเพราะหลง หลงเข้าใจผิด คือไม่รู้ต้นสายปลายเหตุ ไม่รู้เรื่องรู้ราว ไม่รู้มันเป็นอย่างไร แล้วก็ทำไปเหมือนกับรู้ 

ภยาคติ     ลำเอียงเพราะความกลัว ถ้ามีอคติอย่างใดอย่างหนึ่งใน 4 อย่างนี้ ความยุติธรรมหายไป หาได้ยาก 

เรื่องที่มนุษย์ตัดสินว่าผิด ถูก ดี หรือชั่ว แน่นอนคือไม่แน่นอน หรือว่าไม่แน่นอนเสมอไป เชื่อถือได้หรือเชื่อถือไม่ได้ ความรู้สึกว่าพวกเราหรือพวกเขา มันจะมาเป็นกำแพงกั้นความยุติธรรม คือปิดบังดวงปัญญา ทำให้ผู้รู้ทำอะไรอย่างคนโง่ และทำให้ผู้มีอำนาจลงโทษคนที่ไม่ผิด ทำให้อาจารย์ทำร้ายลูกศิษย์ เช่น อาจารย์ขององคุลิมาล ยืมมือคนอื่นประทุษร้าย เพราะโมหาคติ และภยาคติของตน ทำให้อาจารย์ผู้สอนธรรม กลายเป็นผู้ไร้เสียซึ่งความยุติธรรม 

ความโง่เขลาเบาปัญญาเพราะอคติ ตามที่กล่าวนี้ทำให้ผู้ครองนคร กลายเป็นฆาตกร ตัวอย่างเช่นพระเจ้าปเสนทิโกศล ในสมัยพุทธกาลวางแผนฆ่าพันธุลเสนาบดี พร้อมด้วยบุตรจำนวนมาก ผู้ไม่มีความผิดเลยแม้แต่น้อยนี้เรื่องยาว ยกมา พอเห็นตัวอย่าง 

ความยุติธรรมตามธรรมชาติ เป็นสิ่งที่ดีที่สุดหรือว่าเชื่อถือได้ที่สุด เช่น การประพฤติผิดต่อธรรมชาติของร่างกายภายนอก ก็ได้รับผลตอบแทนมา เช่น กินของเผ็ดเข้าไป มันก็ร้อนกระเพาะ กินของเปรี้ยวจัด มันก็แสบกระเพาะ มันเป็นความยุติธรรมสากล 

ความยุติธรรมนี้อยู่ที่ใด พูดถึงความยุติธรรมประดิษฐ์นะครับก็อยู่ที่คน ถ้าเป็นความยุติธรรมที่คนตั้งขึ้น มันก็อยู่ที่คน ถ้าคนมีธรรม ความยุติธรรมก็มี ถ้าคนไม่มีธรรม ความยุติธรรมก็ไม่มี 

เราจะขอความเป็นธรรมจากคนไม่มีธรรม เขาจะเอาที่ไหนให้ เพราะว่าเขาไม่มีธรรม เหมือนกับเราไปคั้นเม็ดทรายเพื่อจะเอาน้ำมัน เม็ดทรายมันไม่มีน้ำมัน เราไปคั้นให้ตาย น้ำมันมันก็ไม่ออกมา เราไปรีดเขาโคเพื่อจะได้น้ำนมโค ก็เหนื่อยแรงเปล่า เพราะที่เขามันไม่มี 

เพราะฉะนั้น ความยุติธรรม มันก็อยู่ที่คนถ้าคนมีธรรม ฉะนั้นถ้าเราต้องการความยุติธรรม เราก็ต้องพยายามฝึกให้คนมีธรรม ถ้าคนไม่มีธรรม มันก็ไม่ยุติธรรม จะเอาที่ไหนมาให้ 

ปัญหาหนึ่งว่า ถ้าความยุติธรรมมาเผชิญหน้ากับเมตตากรุณา ถ้ามันสอดคล้องกันไปได้ ไม่ขัดแย้งกัน มีความยุติธรรมด้วย ไม่เสียเมตตากรุณาด้วย ได้เมตตากรุณาด้วย ได้ความยุติธรรมด้วย อย่างนั้นก็ดี ไม่มีปัญหา 

แต่ถ้าเกิดขัดแย้งกันขึ้นระหว่างเมตตากรุณา กับความยุติธรรมเราจะเอาอะไรไว้และทิ้งอะไรไป เช่น ถ้าเผื่อประพฤติเมตตากรุณา ก็จะเสียความยุติธรรม ถ้าดำรงอยู่ในความยุติธรรม ก็จะเสียเมตตากรุณา ต้องยอมขาดเมตตากรุณา จะเอาอะไรไว้จะทิ้งอะไรไป เช่น 

ครูกับนักเรียน ถ้าบอกข้อสอบกับนักเรียนบางคน เมตตากรุณากับนักเรียนคนนั้น กลัวเขาจะสอบตก แล้วเขาจะลำบาก ก็บอกข้อสอบเขาไป หรือตรวจข้อสอบให้เขาได้คะแนนดี ทั้งที่เขาทำไม่ได้ อย่างนี้แม้จะสำรวจใจแล้ว ว่ามีเมตตากรุณา แต่ว่ามันเสียความยุติธรรม 

ท่านผู้รู้ท่านให้เอาอะไรไว้ก่อน เพราะเหตุไร ในกรณีที่คุณธรรม 2 อย่าง มาเผชิญหน้ากันและขัดแย้งกัน จำเป็นต้องทิ้งอย่างหนึ่งเอาไว้อย่างหนึ่ง ดูตัวอย่างเปาบุ้นจิ้นเป็นตัวอย่างที่ดี ท่านต้องดำรงรักษาความยุติธรรมเอาไว้ ดูเหมือนจะขาดเมตตากรุณา แต่ความจริงก็ไม่ใช่อย่างนั้น ต้องดำรงความยุติธรรมเอาไว้ เพราะว่าความยุติธรรมเป็นหน้าที่โดยตรงของคนทุกคน 

เมตตากรุณา เป็นคุณธรรมเหมือนกัน แต่เมื่อมาพร้อมกันเป็นหน้าที่โดยอ้อม แต่ถ้าทำได้ เราประพฤติความยุติธรรม โดยไม่ให้เสียความเมตตากรุณา
แต่ถ้าประพฤติความเมตตากรุณาอย่าให้เสียความยุติธรรม ถ้าให้เสียความยุติธรร