วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความขัดแย้ง

http://youtu.be/2InWePKQ2

  ในแต่ละวันเราจะพบกับความขัดแย้ง และข่าวของความขัดแย้งทั้งในองค์การ และสังคมทั่ว ๆ ไป ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนระหว่างประเทศ ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครปรารถนา แต่ก็เป็นสิ่งที่ยากจะหลีกเลี่ยงพ้น ตราบใดที่มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่และอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมดังที่เหมาเจ๋อตง กล่าวไว้ว่า ไม่มีสิ่งใดที่ไม่มีความขัดแย้ง ไม่มีความขัดแย้งก็ไม่มีโลก ดังนั้นผู้เขียนจึงเสนอบทความนี้เพื่อท่านผู้อ่านได้ทำความเข้าใจในเรื่องความหมาย และแนวคิดเกี่ยวกับความขัดแย้ง อันนำไปสู่การปรับแนวคิดให้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุขถึงแม้ว่าจะมีความขัดแย้งกัน 

ความหมายของความขัดแย้ง 
       ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ขัดแย้ง (หน้า 137) เป็นคำกิริยา หมายถึง ไม่ทำตาม ฝ่าฝืน ขืนไว้ แย้งกัน ไม่ลงรอยกัน(หน้า 675) เป็นคำกิริยา หมายถึง ไม่ตรงหรือลงรอยเดียวกัน ต้านไว้ ทานไว้ 
       สรุปความว่า ความขัดแย้ง หมายถึง การกระทำที่ไม่ลงรอย ขัดขืน หรือต่อต้านกัน 
       พจนานุกรมของเวบสเตรอร์ (Webster’s Ninth New Collegiate Dictionary) ได้ให้ความหมายของคำว่า ความขัดแย้ง (Conflict) ไว้ดังนี้ (หน้า27        1. การต่อสู้ การรบพุ่ง การสง                     2. (a) การแข่งขันหรือการกระทำที่ตรงกันข้าม (ซึ่งสืบเนื่องมาจาก ความต่างกันในเรื่องความคิดเห็น ความสนใจ หรือบุคลิกภาพ)                                     (b)  ความคับข้องใจ ซึ่งเกิดมาจากความปรารถนาแรงขับ ความต้องการที่ขัดกันทั้งภายในตัวบุคคล                   3.  ได้มีผู้รู้ให้ความหมายของคำว่า ความขัดแย้งไว้ต่าง ๆ กัน ความหมายที่สำคัญ ๆ  มีดังนี้ 
  ความขัดแย้ง เป็นการต่อสู้ดิ้นรนระหว่างผู้ที่ไม่ลงรอยกัน (ทั้งบุคคลหรือกลุ่ม) ในด้านความต้องการ ความปรารถนา ความคิด และผลประโยชน์ ความขัดแย้งเกิดขึ้นเมื่อบุคคลหรือกลุ่มที่เผชิญหน้าไม่สามารถหาข้อยุติที่เป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่ายได้ 
  ความขัดแย้ง เป็นพฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องต้องกัน ระหว่างกลุ่มที่มีความสนใจต่างกัน 
  ความขัดแย้ง เป็นกระบวนการหนึ่งที่เริ่มต้นเมื่อกลุ่มหนึ่งรับรู้ว่าตนถูกทำลายจากกลุ่มอื่นหรือส่อเค้าว่ากลุ่มอื่นตั้งท่าจะทำลายตน 
  ความขัดแย้ง หมายถึง สภาพการณ์ที่ทำให้คนตกอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถจะตัดสินใจหรือตกลงหาข้อยุติอันเป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่ายได้ 
  ความขัดแย้ง หมายถึง สถานการณ์ที่คนมีความเห็น ความเชื่อไม่ตรงกัน และตกอยู่ในภาวะที่ไม่อาจจะตกลงหาข้อยุติที่น่าพอใจได้ทั้งสองฝ่าย หากปล่อยปละละเลย ไม่หาทางทำความเข้าใจอาจก่อให้เกิดความแตกแยก อิจฉาริษยา ซึ่งมีผลกระทบไปถึงความเสื่อมโทรมของหน่วยงานได้ 
  ความขัดแย้ง หมายถึง สภาพการณ์ที่บุคคล 2 ฝ่าย มีความคิดเห็น หรือความเชื่อที่ไม่ตรงกันและยังไม่สามารถหาข้อยุติที่สอดคล้องต้องกันได้ 
  ความขัดแย้งขององค์การ คือ ความไม่เห็นพ้องต้องกันระหว่างสมาชิก หรือกลุ่มขององค์การสองกลุ่ม หรือมากกว่าเกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับว่า พวกเขาจะต้องมีส่วนร่วมในทรัพยากรที่จำกัด หรืองานต่าง ๆ หรือพวกเขามีความแตกต่างในด้านสถานภาพ เป้าหมาย ค่านิยม การรับรู้ ทัศนคติ ความเชื่อซึ่งแตกต่างกันและไม่เห็นพ้องต้องกัน ต่างก็พยายามแสดงทัศนะของพวกเขาให้เด่นกว่าบุคคลอื่น หรือความต้องการของเขาไม่ได้รับการตอบสนอง 
   จากความหมายดังกล่าวมาพอสรุปได้ว่า ความขัดแย้งเป็นความรู้สึกนึกคิด หรือการกระทำที่ขัดกันทั้งภายในตนเอง ระหว่างบุคคล และระหว่างกลุ่ม ซึ่งมีผลทำให้เกิดการแข่งขัน หรือการทำลายกัน 
แนวคิดเกี่ยวกับความขัดแย้ง 
    ขอตั้งคำถามวัดความรู้สึกของท่านผู้อ่านว่า ท่านมีความรู้สึกอย่างไร เมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้นในครอบครัวของท่าน หรือในหน่วยงานของท่าน ? ท่านมีความรู้สึกอย่างไร แล้วถ้าท่านจะถ่ายทอดความรู้สึกออกมาเป็นภาพวาด ท่านจะวาดเป็นภาพอะไรให้ตรงกับความรู้สึกของท่านมากที่สุด (นึกไว้หรือจะวาดจริง ๆ สัก 1 ภาพก็ได้)
      (เฉลย)
    ถ้าท่านวาดเป็นภาพคนหน้าบึ้งหรือโกรธ (คนส่วนมากวาดภาพนี้) หัวใจแตกร้าว, คนด่าทอกัน, เส้นยุ่ง ๆ คนหันหลังให้กัน คนงัดข้อกัน วิวาทชกต่อยกัน ตลอดจนภาพที่มีไม้ มีดปืนลูกระเบิดเข้ามาเกี่ยวข้อง ฯลฯ ขอเฉลยว่าท่านมีแนวความคิดเกี่ยวกับความขัดแย้งแบบโบราณ (เดิม) มองความขัดแย้งเป็นโทษเป็นปัญหาแล้วภาพแบบใดจึงจะไม่โบราณหรือทันสมัย (ใหม่) ภาพที่เป็นกลาง ๆ ได้แก่ เครื่องหมาย + กับ  ลูกศรไปคนละทางภาพที่แสดงถึงผู้มีแนวความคิดเกี่ยวกับความขัดแย้งที่ทันสมัย(จะมีจำนวนน้อยมาก) ตัวอย่างภาพที่พบ เช่น เป็นภาพเส้นไม้หรือหวายขัดกัน ผู้วาดอธิบายว่า ไม้ไผ่อ่อน ๆ แต่ละเส้นถ้านำมาขัดกัน จะทำให้เกิดเป็นกระดัง ชะลอม หรือรั้วที่แข็งแรงให้ประโยชน์ได้ดี เป็นการมองว่าความขัดแย้งทำให้เกิดประโยชน์แก่องค์การได้ ทำให้เกิดการตัดสินใจที่รอบคอบขึ้น
  ผู้วาดอธิบายว่า ความขัดแย้งถ้าเรามองผิวเผินเปรียบเสมือนกองขยะเป็นสิ่งน่ารังเกียรติ มีกลิ่นเหม็น แต่ถ้าคิดให้ลึกซึ้งกองขยะ (ความขัดแย้ง) นั้น มีประโยชน์ เป็นปุ๋ยให้ต้นไม้เจริญออกดอกสวยงามได้ ความขัดแย้งก็เช่นเดียวกันมีประโยชน์ต่อองค์การ เป็นเชื้อ เป็นปุ๋ย ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ สร้างความเจริญให้แก่องค์การได้วาดภาพอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยอธิบายว่า สังคมประชาธิปไตย ย่อมต้องมีความคิดที่หลากหลายและขัดแย้งกันได้ถือเป็นเรื่องธรรมดา 
  แนวคิดหรือทัศนะเกี่ยวกับความขัดแย้ง สรุปได้ว่าแนวคิดเกี่ยวกับความขัดแย้ง แบ่งได้ชัดเจน 2 แนวคิดคือ 
 1.  แนวคิดเดิม ถือว่าความขัดแย้งเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น และเป็นผลร้ายทั้งในส่วนบุคคลและองค์การ เป็นสัญญาณของความผิดพลาดบางอย่างขององค์การ หรือเป็นความล้มเหลวของการบริหาร คนส่วนมากจึงหลีกเลี่ยงและกลัวการมีความขัดแย้ง ความขัดแย้งจึงเป็นสิ่งที่ต้องเก็บกด หลีกเลี่ยง หรือกำจัดให้หมดไป ใครก่อปัญหาความขัดแย้งคือตัวแสบขององค์กา
  2.  แนวคิดใหม่ ถือว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติที่มีในสังคม และเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ มีทั้งคุณและโทษ ความขัดแย้งจึงมิใช่สิ่งแปลกประหลาดหรือสิ่งที่น่ารังเกียจแต่เป็นสิ่งที่ควรศึกษาให้เข้าใจจนสามารถใช้ประโยชน์จากความขัดแย้งได้ โดยเฉพาะในสังคมประชาธิปไตย ต้องอาศัยความขัดแย้งเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง เพราะจากการขัดแย้งนั้นจะเกิดมติอันถูกต้อง เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและบ้านเมืองอย่างแท้จริง ซึ่งตรงกับแนวคิดที่ว่า ความขัดแย้งบางอย่างจำเป็นต้องมีเพื่อเป็นการกระตุ้นให้องค์การไม่เฉื่อยชา และมีการเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นแต่ความขัดแย้งนั้นจะต้องอยู่ในระดับที่พอเหมาะไม่สูงหรือต่ำเกินไป 
   เพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนขึ้น อาจเปรียบเทียบความขัดแย้งเหมือนกับสัตว์ดุร้ายชนิดหนึ่ง ซึ่งคนโบราณพยายามหลีกหนี หรือฆ่าทิ้งเสียเพราะกลัวอันตราย แต่คนปัจจุบันพยายามศึกษาให้เข้าใจธรรมชาติของสัตว์ดุร้าย แล้วนำมาเลี้ยงมาฝึกให้เชื่อง จนสามารถคุมพฤติกรรมและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ตามที่ต้องการได้                         
  ความขัดแย้งมีในทุกองค์การหรือหน่วยงาน ถ้ามีในระดับที่พอเหมาะ (ความสามัคคี คือ ความขัดแย้งที่พอเหมาะ) จะช่วยกระตุ้นให้บุคคลในองค์การได้ใช้ความคิด ความอ่าน ในการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์งาน ตรงกับคำกล่าวที่ว่า “No progress Without conflict” (ไม่เจริญถ้าปราศจากความขัดแย้ง) แต่ถ้ามีความขัดแย้งที่มากถึงระดับที่เป็นปัญหาก็จะทำให้บุคคลในองค์การแตกความสามัคคีทำให้องค์การเสื่อมลงในที่สุด             
  สุดท้ายขอฝากไว้ว่า ความขัดแย้ง ขัดกันได้และมีส่วนดี แต่อย่ามีนิสัยสร้างความขัดแย้ง แล้วชีวิตจะเป็นสุข 
                                              …………………………………………………….


                                                                             แหล่งที่มา 
                                                             http://www.moe.go.th/wijai/conflict.doc


xY

ความเป็นพลเมืองโลก


ความเป็นพลโลก

การศึกษาช่วยพัฒนาประชาคมสู่การเป็นพลเมืองโลก (Global Citizen) ได้อย่างไร
การจัดการเรียนเรียนรู้วิชาพลโลก 
                        หลักสูตรแกนกลาง พุทธศักราช 2551  ได้กล่าวถึง การสร้างนักเรียนให้เป็นพลโลก  หรือพลเมืองโลก (Global Citizen)  ไว้ในวิสัยทัศน์ของหลักสูตร  ดังนี้  หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน  ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุล ทั้งด้านร่างกาย  ความรู้  คุณธรรม  มีจิตสำนึกในความเป็น พลเมืองไทย และเป็นพลโลก  ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  มีความรู้และทักษะพื้นฐาน  รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ  การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต  โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า  ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
ทำไม ทำอย่างไร จึงจะนำนักเรียน สู่ความเป็นพลโลก
                         เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 255   ณ โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพมหานคร มีโอกาสเข้าร่วมสัมมนาเรื่องการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการสร้างพลเมืองโลกในอนาคต (Curriculum Development for Future Global Citizens Conference)  ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับ British Council  จัดขึ้นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิได้ ให้หลักการ แนวคิด ไว้ที่ต้องให้ความสนใจ ซึ่งพอสรุปได้  ดังนี้
จอห์น   แมคโดนัลด์  ผู้อำนวยการองค์การควบคุมคุณภาพการศึกษา  สก๊อตแลนด์
-          หลักสูตรจะต้องสร้างให้เด็กรุ่นใหม่ให้มีความสามารถในการสื่อสารระดับสากลโดยมีภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางพร้อมที่จะเรียนรู้ เข้าใจ และยอมรับในศาสนา วัฒนธรรมและภาษาที่แตกต่าง มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นพัฒนาสังคมส่วนรวมในวงกว้างระดับนานาชาติโดยไม่เห็นแก่ผลประโยชน์ของตน แต่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของประเทศและของตนไว้ 
-          หลักสูตรจะต้องช่วยให้เด็กพัฒนาศักยภาพได้เต็มที่ รู้จักคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ใช้เทคโนโลยีหาความรู้   มีความรู้ทั้งวิชาการ วิชาชีพและทักษะชีวิต   รู้จักตนเองและให้เกียรติผู้อื่น  เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี  ทำงานเป็นทีมและมีคุณธรรม     
มิสโมอิรา     แมคเคอราเชอร์     ผอ.ฝ่ายการศึกษk ระหว่างประเทศ องค์การควบคุมคุณภาพการศึกษา  สก๊อตแลนด์   
-          การสร้างเด็กให้มีคุณภาพจะต้องพัฒนาครูให้มีความเป็นเลิศในวิชาที่สอน  รู้จักออกแบบการเรียนการสอน และประเมินวัดผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อเด็ก
ดร.ซูฮ์   สวีนี     ผู้จัดการฝ่ายหลักสูตรการศึกษาวิทยาลัยอายร์  สก๊อตแลนด์
-          การสร้างเด็กให้เป็นพลเมืองที่ดีของโลกนั้นครูมีบทบาทสำคัญที่สุดรวมทั้งมีผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบอาชีพด้านต่างๆเช่น นักวิทยาศาสตร์มาช่วยครูให้ความรู้เด็ก
รศ.สุชาดา   นิมมานนิตย์     กรรมการบริหารสถาบันภาษา                   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
-          เด็กไทยยังมีจุดอ่อนด้านคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ และไม่แบ่งปันความรู้ให้เพื่อนๆ  ซึ่งครูต้องเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาและพัฒนาเด็ก
คุณหญิงกษมา  วรวรรณ    อยุธยา   เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
-          เนื้อหาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานปี2551 นั้นสามารถพัฒนาเด็กให้เป็นพลเมืองคุณภาพของโลกได้อย่างดี   เร็วๆนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)จะลงนามความร่วมมือกับกระทรวงต่างๆเช่น กระทรวงวัฒนธรรม  กระทรวงสาธารณสุข  เพื่อให้ช่วยนำความรู้ที่ไม่มีในตำราเรียนทั้ง  8 กลุ่มสาระมาลงในเวบไซต์ สพฐ.  เพื่อให้ความรู้แก่ครูและเด็กจะเริ่มเปิดให้บริการในเดือนพ.ค.นี้
 ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประธานในพิธีเปิด  
                  - กระทรวงศึกษาธิการนับเป็นหน่วยงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ทำให้ประชาชนมีความพร้อมที่จะทำประโยชน์ของตนและของโลก โดยมุ่งเน้นบุคลากรบนพื้นฐานของความมีเหตุมีผล มีความรับผิดชอบ ด้วยเล็งเห็นถึงคุณภาพเหล่านี้ต่อพลเมืองโลกในอนาคต 
                 - การพัฒนาหลักสูตรเพื่อการพัฒนาพลเมืองโลกจะส่งเสริมให้มีการประสานงานให้เกิดความเท่าเทียมกันและเกิดการเรียนการสอนที่เหมาะสมทั้งวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษ กระทรวงศึกษาธิการจะได้จัดหาโอกาสให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการสร้างพลเมืองโลกในอนาคต

                    การประชุมสัมมนาเรื่องการพัฒนาหลักสูตรเพื่อสร้างพลเมืองโลกในอนาคตจัดขึ้นเพื่อสร้างทักษะความจำเป็นในการเป็นพลเมืองโลก โดยผ่านการพัฒนาหลักสูตรระดับมัธยมศึกษา เรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่องการพัฒนาหลักสูตรเพื่อพลเมืองโลก โดยได้เชิญวิทยากรและผู้ทรงคุณวุฒิจากนานาประเทศมาบรรยายให้ความรู้ ตลอดจนส่งเสริมการศึกษา Inter – Faith โดยเชื่อมโยงแนวความคิดเรื่องโอกาสที่เท่าเทียมกัน 

           สรุป   นักการศึกษาเสนอแนะให้พัฒนาเยาวชนให้เป็นพลเมืองคุณภาพของโลกโดยการพัฒนาหลัก สูตรปลูกฝังให้เยาชนมีความรู้วิชาการ-วิชาชีพ ทักษะชีวิต  มีคุณธรรมและยึดประโยชน์ส่วนรวมในระดับสากล  

สร้างความคิดรวบยอด (Concept) เรื่องพลเมืองโลก ผ่านหลักสูตรสถานศึกษาโดย  บูรณาการกับวัตถุประสงค์ และกิจกรรม CCAD  ดังนี้
-          พลโลกมีความเหมือนและความแตกต่างกัน หลายด้าน เช่น สถานที่อยู่อาศัย ภาษา
ศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรม ภาษา  ชีวิตความเป็นอยู่
-          สันติสุขจะดำรงอยู่ได้ ต้องอาศัยการพัฒนาการอยู่ร่วมกันหลายด้าน เช่น
การติดต่อสื่อสาร  การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การค้า และการร่วมกิจกรรมในระดับนาๆ ชาติ อื่นๆ
-          พลโลกจะอยู่ร่วมโลกกันอย่างสันติสุขได้ ต้องเข้าใจ  ยอมรับ และเรียนรู้  ความเหมือนและความแตกต่างกัน
-          โลกจะดำรงอยู่ได้ พลโลกต้องร่วมมือกันรักษ์โลก


 โลกจะดำรงอยู่ได้ พลโลกต้องร่วมมือกันรักษ์โลก
สันติสุขจะดำรงอยู่ได้ ต้องอาศัยการพัฒนาการอยู่ร่วมกันหลายด้าน เช่น การติดต่อสื่อสาร  การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การค้า และการร่วมกิจกรรมในระดับนาๆ ชาติอื่นๆ เช่น  CCADพลโลก จะอยู่ร่วมโลกกันอย่างสันติสุขได้ ต้องเข้าใจ  ยอมรับ และเรียนรู้  ความเหมือนและความแตกต่างกันพลโลกมีความเหมือนและความแตกต่างกัน หลายด้าน เช่น สถานที่อยู่อาศัย ภาษา  ศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรม ภาษา  ชีวิตความเป็นอยู่

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความยุติธรรมคืออะไร


ความยุติธรรม
แจ้งลบกระทู้


ความยุติธรรม เป็นสิ่งที่เราแสวงหาและต้องการความยุติธรรม 
ความยุติธรรม คืออะไร อันนี้ตอบยาก 
ความยุติธรรมกับความเสมอภาค ไม่เหมือนกัน 

ความยุติธรรม ต้องให้คนได้รับสิ่งที่เขาควรจะได้รับ ถ้าเขาควรได้รับรางวัลก็ให้รางวัล ถ้าเขาควรได้รับโทษ ก็ให้ได้รับโทษ นี่เรียกว่าความยุติธรรม 

ความยุติธรรมจริงๆนั้นคืออะไร ส่วนมากใครที่ได้รับผลประโยชน์ คนนั้นก็ว่ายุติธรรม คนเสียประโยชน์เขาก็ว่าไม่ยุติธรรม ถ้าอย่างนั้น ความยุติธรรมจริงๆคืออะไร บอกไปนิดหนึ่งแล้วว่า ในภาคปฏิบัติ ต้องให้เขาได้รับสิ่งที่ควรได้รับ ถ้าเขาควรได้รับรางวัลก็ให้เขารับรางวัล ถ้าเขาควรได้รับโทษ ต้องให้เขาได้รับโทษ 

บางคนบอกว่าความยุติธรรมจริงๆไม่มี หรือมี แต่ไม่รู้อะไร ความยุติธรรมเป็นสากล เป็นจริงในตัวเอง หรือว่าไม่เป็นสากล ไม่เป็นจริงในตัวเอง หรือว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ มันเป็นสิ่งที่แล้วแต่ใครเป็นคนตัดสิน 
มนุษย์เราโดยปกติ โดยทั่วไปมีอคติ เข้าข้างตัวเองบ้าง เข้าข้างพวกพ้องของตัวเองบ้าง ทั้งยังเกลียดชังผู้อื่นและพวกอื่น 

อคตินี่แหละทำให้เสียความยุติธรรม 

ฉันทาคติ  พอใจลำเอียงเพราะพอใจบ้าง 

โทสาคติ   ลำเอียงเพราะไม่ชอบบ้าง 

โมหาคติ   ลำเอียงเพราะไม่รู้เรื่องรู้ราว แต่ก็กระทำไปตามที่ไม่รู้เรื่อง 
โมหาคติ ตามตัวแปลว่าลำเอียงเพราะหลง หลงเข้าใจผิด คือไม่รู้ต้นสายปลายเหตุ ไม่รู้เรื่องรู้ราว ไม่รู้มันเป็นอย่างไร แล้วก็ทำไปเหมือนกับรู้ 

ภยาคติ     ลำเอียงเพราะความกลัว ถ้ามีอคติอย่างใดอย่างหนึ่งใน 4 อย่างนี้ ความยุติธรรมหายไป หาได้ยาก 

เรื่องที่มนุษย์ตัดสินว่าผิด ถูก ดี หรือชั่ว แน่นอนคือไม่แน่นอน หรือว่าไม่แน่นอนเสมอไป เชื่อถือได้หรือเชื่อถือไม่ได้ ความรู้สึกว่าพวกเราหรือพวกเขา มันจะมาเป็นกำแพงกั้นความยุติธรรม คือปิดบังดวงปัญญา ทำให้ผู้รู้ทำอะไรอย่างคนโง่ และทำให้ผู้มีอำนาจลงโทษคนที่ไม่ผิด ทำให้อาจารย์ทำร้ายลูกศิษย์ เช่น อาจารย์ขององคุลิมาล ยืมมือคนอื่นประทุษร้าย เพราะโมหาคติ และภยาคติของตน ทำให้อาจารย์ผู้สอนธรรม กลายเป็นผู้ไร้เสียซึ่งความยุติธรรม 

ความโง่เขลาเบาปัญญาเพราะอคติ ตามที่กล่าวนี้ทำให้ผู้ครองนคร กลายเป็นฆาตกร ตัวอย่างเช่นพระเจ้าปเสนทิโกศล ในสมัยพุทธกาลวางแผนฆ่าพันธุลเสนาบดี พร้อมด้วยบุตรจำนวนมาก ผู้ไม่มีความผิดเลยแม้แต่น้อยนี้เรื่องยาว ยกมา พอเห็นตัวอย่าง 

ความยุติธรรมตามธรรมชาติ เป็นสิ่งที่ดีที่สุดหรือว่าเชื่อถือได้ที่สุด เช่น การประพฤติผิดต่อธรรมชาติของร่างกายภายนอก ก็ได้รับผลตอบแทนมา เช่น กินของเผ็ดเข้าไป มันก็ร้อนกระเพาะ กินของเปรี้ยวจัด มันก็แสบกระเพาะ มันเป็นความยุติธรรมสากล 

ความยุติธรรมนี้อยู่ที่ใด พูดถึงความยุติธรรมประดิษฐ์นะครับก็อยู่ที่คน ถ้าเป็นความยุติธรรมที่คนตั้งขึ้น มันก็อยู่ที่คน ถ้าคนมีธรรม ความยุติธรรมก็มี ถ้าคนไม่มีธรรม ความยุติธรรมก็ไม่มี 

เราจะขอความเป็นธรรมจากคนไม่มีธรรม เขาจะเอาที่ไหนให้ เพราะว่าเขาไม่มีธรรม เหมือนกับเราไปคั้นเม็ดทรายเพื่อจะเอาน้ำมัน เม็ดทรายมันไม่มีน้ำมัน เราไปคั้นให้ตาย น้ำมันมันก็ไม่ออกมา เราไปรีดเขาโคเพื่อจะได้น้ำนมโค ก็เหนื่อยแรงเปล่า เพราะที่เขามันไม่มี 

เพราะฉะนั้น ความยุติธรรม มันก็อยู่ที่คนถ้าคนมีธรรม ฉะนั้นถ้าเราต้องการความยุติธรรม เราก็ต้องพยายามฝึกให้คนมีธรรม ถ้าคนไม่มีธรรม มันก็ไม่ยุติธรรม จะเอาที่ไหนมาให้ 

ปัญหาหนึ่งว่า ถ้าความยุติธรรมมาเผชิญหน้ากับเมตตากรุณา ถ้ามันสอดคล้องกันไปได้ ไม่ขัดแย้งกัน มีความยุติธรรมด้วย ไม่เสียเมตตากรุณาด้วย ได้เมตตากรุณาด้วย ได้ความยุติธรรมด้วย อย่างนั้นก็ดี ไม่มีปัญหา 

แต่ถ้าเกิดขัดแย้งกันขึ้นระหว่างเมตตากรุณา กับความยุติธรรมเราจะเอาอะไรไว้และทิ้งอะไรไป เช่น ถ้าเผื่อประพฤติเมตตากรุณา ก็จะเสียความยุติธรรม ถ้าดำรงอยู่ในความยุติธรรม ก็จะเสียเมตตากรุณา ต้องยอมขาดเมตตากรุณา จะเอาอะไรไว้จะทิ้งอะไรไป เช่น 

ครูกับนักเรียน ถ้าบอกข้อสอบกับนักเรียนบางคน เมตตากรุณากับนักเรียนคนนั้น กลัวเขาจะสอบตก แล้วเขาจะลำบาก ก็บอกข้อสอบเขาไป หรือตรวจข้อสอบให้เขาได้คะแนนดี ทั้งที่เขาทำไม่ได้ อย่างนี้แม้จะสำรวจใจแล้ว ว่ามีเมตตากรุณา แต่ว่ามันเสียความยุติธรรม 

ท่านผู้รู้ท่านให้เอาอะไรไว้ก่อน เพราะเหตุไร ในกรณีที่คุณธรรม 2 อย่าง มาเผชิญหน้ากันและขัดแย้งกัน จำเป็นต้องทิ้งอย่างหนึ่งเอาไว้อย่างหนึ่ง ดูตัวอย่างเปาบุ้นจิ้นเป็นตัวอย่างที่ดี ท่านต้องดำรงรักษาความยุติธรรมเอาไว้ ดูเหมือนจะขาดเมตตากรุณา แต่ความจริงก็ไม่ใช่อย่างนั้น ต้องดำรงความยุติธรรมเอาไว้ เพราะว่าความยุติธรรมเป็นหน้าที่โดยตรงของคนทุกคน 

เมตตากรุณา เป็นคุณธรรมเหมือนกัน แต่เมื่อมาพร้อมกันเป็นหน้าที่โดยอ้อม แต่ถ้าทำได้ เราประพฤติความยุติธรรม โดยไม่ให้เสียความเมตตากรุณา
แต่ถ้าประพฤติความเมตตากรุณาอย่าให้เสียความยุติธรรม ถ้าให้เสียความยุติธรร